จ่อ ซู งู

ระนอง

กลับ

สิบปีที่แล้ว จ่อ ซู งู ชาวประมงเมียนมา อายุ 46 ปี ข้ามชายแดนกับ มะพิว ภรรยาของเขาจาก เมืองมะละแหม่ง ประเทศเมียนมา มายังจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเดินทางต่อไปยังอำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาครเพื่อที่จะทำงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเล พวกเขาไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมในการทำงานในโรงงานดังกล่าว พวกเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี และตั้งรกรากที่อำเภอดอนสักจนถึงปัจจุบัน

จ่อ ซู งู เป็นหัวหน้าแรงงานบนเรือจับกุ้ง และทำงานอยู่ที่ตลาดปลาอุสา มากว่า 5 ปีแล้ว “ปกติผมจะทำงานอยู่บนเรือ 5-10 วัน และได้พัก 2-3 วันหลังจากที่เอาเรือเทียบท่า” จ่อ ซู งู กล่าว

การใช้ชีวิตบนเรือประมงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อเรือต้องเจอกับมรสุมซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ปีนี้มรสุมเข้าช้าเพราะปัญหาโลกร้อน

“แม้จะเข้าสู่เดือนมกราคมแล้วก็ตาม แต่เรายังเจอกับคลื่นลมที่แรงอยู่ เราจำเป็นต้องเอาเรือกลับเข้าฝั่งหลังจากออกทะเลไปได้เพียง 3-4 วันเนื่องจากสภาพอากาศอันตรายต่อการเดินเรือ” จ่อ ซู งู กล่าว “จับปลาในประเทศเมียนมาง่ายกว่าเพราะในทะเลมีปลาอยู่เยอะ แต่แม้ว่าในประเทศไทยจะมีปลาน้อยกว่าแต่ผมก็ยังหาเงินได้มากกว่าที่เมียนมาอยู่ดี” เขากล่าว

จ่อ ซู งู ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิแรงงานจากภรรยาของเขา มะพิว ที่ทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรพันธมิตรในโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย สนับสนุนโดยองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยมูลนิธิรักษ์ไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และสิทธิแรงงานให้กับแรงงานข้ามชาติ, นายจ้าง, และเจ้าของเรือ

จ่อ ซู งู กับภรรยาของเขาต่างทราบดีว่างานของมูลนิธิรักษ์ไทยได้มีส่วนช่วยชุมชนประมงของพวกเขาทั้งคู่ การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็น ทำให้แรงงานข้ามชาติเริ่มตระหนักถึงสิทธิที่ตัวเองพึงมี มีทักษะในการเฝ้าระวังการถูกเอารัดเอาเปรียบ นอกจากนี้พวกเขายังได้เรียนรู้ว่าหากต้องการความช่วยเหลือจะต้องไปที่ไหน

จ่อ ซู งู เล่าให้ฟังว่า “ปัญหาหลักที่พบในอุตสาหกรรมประมงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็คือ นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงและยึดหนังสือเดินทาง” 

“เมื่อก่อนถือเป็นเรื่องปกติมากๆ และแรงงานที่ถูกเอาเปรียบเหล่านี้ก็ไม่รู้ว่าจะไปขอความช่วยเหลือจากใครที่ไหนเนื่องจากไม่มีใครเคยบอกพวกเขามาก่อน และพวกเขาก็พูดภาษาไทยไม่ได้”

จ่อ ซู งู และภรรยาอาจจะไม่ตกเป็นเหยื่อของการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือการถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่พวกเขารู้สึกขอบคุณที่มูลนิธิรักษ์ไทยที่เข้ามาช่วยให้ความรู้กับพวกเขาและเพื่อนๆทำให้ตอนนี้พวกเขารู้สึกเข้มแข็งและมั่นใจว่าจะสามารถเอาตัวรอดและปกป้องตนเองได้ด้วยข้อมูลต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดมาให้ เขาเห็นถึงความสำคัญของความรู้ และรู้สึกว่าการฝึกอบรมของมูลนิธิรักษ์ไทยมีส่วนช่วยให้การเอารัดเอาเปรียบแรงงานภายในชุมชนประมงลดน้อยลง 

จ่อ ซู งู เล่าถึงความฝันของเขาให้ฟังว่า “ไม่มีใครอยากเป็นแรงงานประมงไปตลอดชีวิต วันหนึ่งหากผมเก็บเงินได้มากพอซักก้อน ผมจะกลับบ้านเกิด สร้างบ้านสักหลังให้พ่อและแม่ และเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเอง, บางทีผมอาจจะเป็นคนขับรถก็ได้”


ภาพโดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์

ดิเหลี่ยง อู

NEXT STORY

ดิเหลี่ยง อู

story-of-dihlaing-oo